18 กรกฎาคม 2556

บันทึกอนุทิน ครั้งที่2


บันทึกอนุทิน
ครั้งที่ 2
วิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
วันที่ 21มิถุนายน 2556
เวลาเรียน 13.10 - 16.40 .

เวลาเข้าสอน 13.10 เวลาเข้าเรียน 13.10 เวลาเลิก 16.40 .










 สิ่งที่ได้จากการเรียนการสอน
การเรียนในวันนี้เรียนเรื่องความสำคัญของภาษาโดยภาษามีความสำคัญด้านการฟัง การอ่าน การพูดและการเขียนซึ่งกระบวนการเรียนรู้ประกอบด้วย ๒ กระบวนการ คือ

      1.การดูดซึม
      2.การปรับความเข้าใจเดิมให้เข้าใจกับสิ่ง แวดล้อมใหม่
รวมทั้งยังได้เรียนถึง พัฒนาการของเด็กในการเรียนรู้ด้านภาษา ซึ่งแบ่งได้เป็น
          1.ความพร้อม
          2.ความแตกต่างระหว่างบุคคล
          3.การจำ 
          4.การให้แรงเสริม



ความรู้ที่ได้ในวันนี้

           
การเรียนในวันนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต คือ การที่เรารู้ถึงความแตกต่าง พัฒนาการของเด็กโดยการนำไปสอน ฝึกทักษะในตัวบุคคลและถือเป็นการหาวิธีการในสอนเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาที่ดีได้อีกด้วย

เพิ่มเติมความรู้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของ Piaget
      ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์ (Piaget’s Cognitive Develpoment Theory)



ที่มาจาก http://asmini1122.blogspot.com/2012/07/blog-post_2977.html

      ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget : 1896-1980) 
นักจิตวิทยาชาวสวิตเซอร์แลนด์ ได้เรียนจบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ สาขาสัตววิทยา หลังจากที่เขาเรียนจบแล้วได้ทำงานกับนายแพทย์บีเนต์และซีโม ซึ่งเป็นผู้สร้างข้อสอบเชาวน์ เพียเจท์พบว่าคำตอบของเด็กเล็กกับเด็กโตจะตอบไม่เหมือนกัน และสรุปได้ว่า คำตอบของเด็กวัยต่างจะแตกต่างกันและไม่ควรด่วนสรุปว่าเด็กโตฉลาดกว่าเด็กเล็ก หรือคำตอบของเด็กเล็กจะผิดเสมอ

จุดเริ่มต้นของการศึกษาพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก โดยเริ่มจากลูกทั้ง 3 คนของพวกเขา เป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน เพียเจต์ได้บันทึกและเขียนเป็นรายงานในการสังเกตของเขาไม่เฉพาะเป็นภาษฝรั่งเศษเท่านั้นที่ทำให้เข้าใจยาก แต่เนื้อหาและสาระก็ทำให้เข้าใจยากเหมือนกัน ต่อมาได้มีคนแปลเป็นภาษาอังกฤษและสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

เพียเจท์ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญา โดยเขาเชื่อว่าว่าเด็กทุกคนเกิดมาพร้อมที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติตลอดเวลา และส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้
1.    กระทำ(Active)ก่อน โดยวางอยู่บนพื้นฐานที่มาแต่กำเนิด 2 ชนิด คือ
2.   การจัดและรวบรวม(Oganization) หมายถึงมีการจัดระเบียบภายในเข้าเป็นระบบ ระเบียบและปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาที่ปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
3.   การปรับตัว(Adaptation) หมายถึงการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมให้สมดุลย์ จะประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ 2 อย่างคือ
1.      การดูดซึม (Assimilation) และ
2.     การปรับความแตกต่าง (Accommodation)



           กระบวนการดูดซึม(หรือการรับรู้)จะเกิดขึ้นก่อน คือ เมื่อเด็กปะทะสัมพันธ์กับสิ่งใดก็จะดูดซึมภาพ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามประสบการณ์ที่เคยประสบ รวมรวบเข้าไปอยู่ในโครงสร้างของสติปัญญา(Cognetive Structure) และเมื่อได้รับประสบการณ์ใหม่ที่แตกต่างจากเดิมก็จะปรับตัว เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสติปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม เช่น แรกเริ่มเด็กเข้าใจว่าผู้ใหญ่ผมยาวและนุ่งกระโปรง แต่เมื่อเขาไปเจอผู้ชายผมยาวก็มีก็จะปรับโครงสร้างความเข้าใจอันนี้ใหม่


    สำหรับพัฒนาการทางเชาวน์ปัญญาของเพียเจต์นั้นสามารถแบ่งขั้นตอนทั้งสิ้น
 4 ลำดับขั้น ได้แก่



·         ระยะที่ 1 ขั้นของการใช้ประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ (Sensory – Motor Operation or Reflexive)อยู่ในช่วงอายุแรกเกิดถึง 2 ปี เด็กจะพัฒนาการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องใช้ภาษาเป็นสื่อ เป็นช่วงเริ่มต้นที่จะเรียนรู้ในการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม ถ้ามีการใช้ประสาทสัมผัสมากเท่าไรก็จะช่วยพัฒนาเชาวน์ปัญญาได้มากขึ้นด้วย โดยทั่วไปเด็กจะรับรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมได้เท่านั้น


·         ระยะที่ 2 ขั้นเตรียมความคิดที่มีเหตุผล หรือการคิดก่อนปฏิบัติการ (Preoperation or Preconceptural Stage or Concret Thinking Operations) อยู่ในช่วงอายุ 2-7 ปี พัฒนาการเชาว์ปัญญาของเด็กวัยนี้เน้นไปที่การเรียนรู้ และเริ่มมีพัฒนาการทางภาษาดีขึ้นด้วย โดยสามารถพูดได้เป็นประโยค มีการสร้างคำได้มากขึ้น แต่เด็กยังไม่สามารถใช้สติปัญญาคิดได้อย่างเต็มที่
·      
         ระยะที่ 3 ขั้นคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นรูปธรรม (Concrete Operation
 Stage or Period of Concrete Operation) หรือขั้นปฏิบัติการด้วยรูปธรรม อยู่ในช่วงอายุ 7-11 ปี เด็กในวัยนี้จะสามารถใช้เหตุผลในการตัดสินใจปัญหา ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น โดยลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ
1. สามารถสร้างจินตนาการในความคิดของตนขึ้นมาได้(MentalRepresentations)
2. เริ่มเข้าใจเกี่ยวกับการคงสภาพปริมาณของสสาร (Conservation)
3. มีความสามารถในการคิดเปรียบเทียบ (Relational Terms)
4. สามารถสร้างกฎเกณฑ์เพื่อจัดสิ่งแวดล้อมเป็นหมวดหมู่ได้ (Class inclusion) เช่น การแบ่งแยกประเภทของสัตว์ เป็นต้น
5 .มีความสามารถในการเรียงลำดับ (Serialization and Hierarchical Arrangements)
6. สามารถคิดย้อนกลับไปมาได้ (Reversibility)
·         ระยะที่ 4 ขั้นของการคิดอย่างมีเหตุผลและอย่างเป็นนามธรรม (Formal Operation Stage or Period of Formal Operation) หรือขั้นการปฏิบัติการด้วยนามธรรม อยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป เด็กจะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ได้ เข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นตัวของตัวเอง ต้องการอิสระ ไม่ยึดตนเป็นศูนย์กลาง รู้จักการใช้เหตุผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

TOP